วันเสาร์ที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2557

การเข้าเรียน ครั้วที่ 16

วันที่ 18 กุมภาพันธ์  2557

- วันนี้ไม่มีการเรียนการสอน แต่อาจารย์ได้แจกข้อสอบ Home test ไปทำที่บ้าน และให้นำมาส่งในสัปดาห์ต่อไป -


การเข้าเรียน ครั้งที่ 15

วันที่ 11 กุมภาพันธ์  2557

ภาวะการเรียนบกพร่อง (Learning Disorders – LD)
เรียบเรียงโดย 
ผศ.นพ.ชาญวิทย์ พรนภดล หน่วยจิตเวชเด็กและวัยรุ่น โรงพยาบาลศิริราช

สาเหตุของปัญหาการเรียน
     สติปัญญาบกพร่อง หรือปัญญาอ่อน (Mental Retardation)
     วิตกกังวล หรือซึมเศร้า (Anxiety or Depression)
     สมาธิสั้น (Attention Deficit Hyperactivity Disorder ADHD)
     ภาวะการเรียนบกพร่อง (Learning Disorder –LD)
     เจ็บป่วยเรื้อรัง (Chronic Illness)
     ขาดโอกาสทางการศึกษา
     ขาดแรงจูงใจ (Lack of Motivation)
     วิธีการสอนไม่เหมาะสม

LD คืออะไร?
    ความบกพร่องของกระบวนการเรียนรู้ ที่เกิดจากการทำงานที่ผิดปกติของสมอง ทำให้ความสัมฤทธิ์ผลด้านการเรียนต่ำกว่าความเป็นจริง
    ความบกพร่องนี้อาจเกิดขึ้นเฉพาะความสามารถด้าน ใดด้านหนึ่ง เช่น การอ่าน การเขียน การสะกดคำ การคำนวณ หรือหลายๆด้านร่วมกัน

พบบ่อยแค่ไหน?
    ประมาณว่า 1 ใน 10 ของเด็กทั่วไปมีปัญหาการเรียนจนต้องได้รับการศึกษาพิเศษและเกือบครึ่งหนึ่งของเด็กจำนวนนี้มี LD การศึกษาของเด็กในวัยเรียนพบว่าร้อยละ 6-10 จะมี  LD เด็กชายจะมีปัญหาได้บ่อยกว่าเด็กหญิงในอัตราส่วน 4:1

สาเหตุของ LD
    ความผิดปกติของการทำงานของสมองที่ไม่สามารถถอดรหัสตัวอักษรออกมาได้ (เชื่อมโยงภาพตัวอักษรเข้ากับเสียงไม่ได้)
    กรรมพันธุ์

ประเภทของ LD
          LD ด้านการเขียนและสะกดคำ
          LD ด้านการอ่าน
          LD ด้านการคำนวณ
          LD หลายๆ ด้านร่วมกัน

ลักษณะของเด็ก LD แต่ละประเภท (การเขียน)
    ลากเส้นวนๆ ไม่รู้ว่าจะม้วนหัวเข้าในหรือออกนอก ขีดวนๆ ซ้ำๆ
    เรียงลำดับอักษรผิด เช่น สถิติ เป็น สติถิ
    เขียนพยัญชนะหรือตัวเลขสลับกัน เช่น ม-น, ภ-ถ, ด-ค, พ-ผ, b-d, p-q, 6-9
    เขียนพยัญชนะ ก-ฮ ไม่ได้ แต่บอกให้เขียนเป็นตัวๆได้
    เขียนพยัญชนะ หรือ ตัวเลขกลับด้าน คล้ายมองจากกระจกเงา
    เขียนคำตามตัวสะกด เช่น เกษตร เป็น กะเสด
    จับดินสอหรือปากกาแน่นมาก
    สะกดคำผิด โดยเฉพาะคำพ้องเสียง ตัวสะกดแม่เดียวกัน ตัวการันต์
    เขียนหนังสือช้าเพราะกลัวสะกดผิด
    เขียนไม่ตรงบันทัด ขนาดตัวอักษรไม่เท่ากัน ไม่เว้นขอบ ไม่เว้นช่องไฟ
    ลบบ่อยๆ เขียนทับคำเดิมหลายครั้ง 

ลักษณะของเด็ก LD แต่ละประเภท (การอ่าน)
    อ่านช้า อ่านคำต่อคำ ต้องสะกดคำจึงจะอ่านได้
    อ่านออกเสียงไม่ชัดเจน
    เดาคำเวลาอ่าน
    อ่านข้าม อ่านเพิ่มคำ อ่านผิดประโยคหรือผิดตำแหน่ง
    อ่านโดยไม่เน้นคำ หรือเน้นข้อความบางตอน
    ผันเสียงวรรณยุกต์ไม่ได้
    ไม่รู้ความหมายของเรื่องที่อ่าน
    เล่าเรื่องที่อ่านไม่ได้ จับใจความสำคัญไม่ได้

ลักษณะของเด็ก LD แต่ละประเภท

ประเภท (การคำนวณ)
    ไม่เข้าใจค่าของตัวเลขเช่นหลักหน่วยสิบร้อยพันหมื่นเป็นเท่าใด
    นับเลขไปข้างหน้าหรือถอยหลังไม่ได้
    คำนวณบวกลบคูณหารโดยการนับนิ้ว
    จำสูตรคูณไม่ได้
    เขียนเลขกลับกันเช่น13เป็น31
    ทดไม่เป็นหรือยืมไม่เป็น
    ตีโจทย์เลขไม่ออก
    คำนวณเลขจากซ้ายไปขวาแทนที่จะทำจากขวาไปซ้าย
    ไม่เข้าใจเรื่องเวลา

ปัญหาพฤติกรรมและอารมณ์ของเด็ก LD
    หลีกเลี่ยงการอ่านการเขียน
    ทำสมุดการบ้านหายบ่อยๆ
    ต่อต้านแบบดื้อเงียบ
    ดูเหมือนเด็กเกียจคร้าน
    ไม่มีสมาธิในการเรียนทำงานช้าทำงานไม่เสร็จในชั้นเรียน
    ทำงานสะเพร่า
    ความจำไม่ดีได้หน้าลืมหลัง
    ขาดความมั่นใจกลัวครูดุกลัวเพื่อนล้อ
    ไม่อยากมาโรงเรียนโทษครูว่าสอนไม่ดีเพื่อนแกล้ง
    เบื่อหน่ายท้อแท้กับการเรียน
    รู้สึกว่าตัวเองไม่เก่งด้อยกว่าคนอื่น
    ไม่มั่นใจในตัวเอง
    มักตอบคำถามว่าทำไม่ได้ไม่รู้
    อารมณ์หงุดหงิดขึ้นลงง่ายคับข้องใจง่าย
    ก้าวร้าวกับเพื่อนครูพ่อแม่(ที่จ้ำจี้จ้ำไช)

ปัญหาการเรียน
    ปัญหาการพูด  มีปัญหาในการฟังและพูด เช่น พูดช้าพูดสับสน เรียบเรียงประโยคไม่ค่อยได้ หาคำพูดเพื่อมาตอบคำถามไม่ถูกต้อง
    ปัญหาการเขียน  มีความลำบากในการอ่าน การเขียน และ การสะกดคำ เช่น อ่านไม่เข้าใจ อ่านออกเสียงไม่ถูกต้อง  อ่านตัวอักษรสลับกัน
    ปัญหาการคำนวณไม่เข้าใจแนวคิดของพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ทำเลขไม่ได้
    ปัญหาในกระบวนความคิดสับสนในการเรียบเรียงและบูรณาการข้อมูลและความคิดต่างๆ
    ปัญหาความจำจำข้อมูลและคำสั่งต่างๆไม่ค่อยได้นึกอะไรไม่ค่อยออก



* ค้นคว้ามาจาก http://www.autisticthailand.com/sthaiparentscouncil/LD/LDcontent/LD4.htm

การเรียน ครั้งที่ 14

วันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2557


กลุ่มอาการดาวน์
ความเป็นมาของกลุ่มอาการดาวน์           ลักษณะต่างๆ ในคนเรา เช่น รูปร่าง หน้าตา สีผม สีผิว และเพศ จะถูกควบคุมโดยสารพันธุกรรมที่เรียกว่ายีน  ซึ่งอยู่บนโครโมโซมแต่ละแท่ง ในร่างกายแต่ละคนประกอบด้วยเซลล์ต่างๆ มากมายเป็นล้านล้านเซลล์ ในแต่ละเซลล์จะมีโครโมโซม 23 คู่หรือ 46 แท่ง โดยเราจะได้มาจากบิดา 23 แท่ง และจากมารดา 23 แท่งรวมเป็น 46 แท่ง ซึ่งก็คือ การถ่ายทอดทางพันธุกรรมนั่นเอง
          หลักฐานจากภาพเขียนน่าจะเป็นไปได้ว่า มีการค้นพบกลุ่มอาการดาวน์ตั้งแต่สมัยคริสต์ศตวรรษที่ 16 แล้ว โดยการบรรยายทางวิชาการเรื่องกลุ่มอาการดาวน์ครั้งแรกเกิดขึ้นในปี ค.ศ.1846 โดย Edouard Onesimus Sequin และในปี ค.ศ.1866 John Langdon Down ได้เขียนบรรยายเป็นครั้งแรกว่า พบเด็กบกพร่องทางสติปัญญากลุ่มหนึ่ง มีลักษณะหน้าตาคล้ายคลึงกับชนเชื้อชาติมองโกล ได้เรียกความผิดปกติชนิดนี้ว่า มองโกลิซึม(mongolism) ต่อมาได้มีการคัดค้านการใช้ชื่อนี้ และเพื่อเป็นเกียรติแก่ผู้พบโรคนี้ จึงเรียกชื่อใหม่ว่า Down’s syndrome คือกลุ่มอาการของดาวน์ ตามแบบอังกฤษ แต่ถ้าตามแบบสหรัฐอเมริกาจะเขียน Down syndrome
          กลุ่มอาการดาวน์พบได้ในทุกเชื้อชาติ  วัฒนธรรม  เศรษฐสถานะ  และภูมิประเทศ โดยทั่วไปพบ 1 ต่อ 600-800 ของเด็กเกิดใหม่  แต่อุบัติการณ์นี้ต่ำกว่าความเป็นจริงเนื่องจากหากทารกในครรภ์เป็นกลุ่มอาการดาวน์  จะมีการแท้งไปเองสูงถึงร้อยละ 75  แม้กระนั้นก็ตามโรคนี้ยังเป็นโรคของความผิดปกติของโครโมโซมที่พบบ่อยที่สุดว่าเป็นสาเหตุของภาวะบกพร่องทางสติปัญญา (หรือภาวะปัญญาอ่อน) และเป็นโรคทางพันธุกรรมที่พบบ่อยที่สุดว่าเป็นสาเหตุของภาวะบกพร่องทางสติปัญญา คิดเป็นสัดส่วน 1 ใน 3 ของภาวะบกพร่องทางสติปัญญา ระดับปานกลางถึงรุนแรง อัตราส่วนระหว่างเพศชายต่อเพศหญิงเป็น 1.3 ต่อ 1 แต่ละปีในประเทศสหรัฐอเมริกาจะมีเด็กเกิดใหม่เป็นกลุ่มอาการดาวน์ประมาณ 10,000 ราย หากประเทศไทยมีประชากรเกิดใหม่ปีละ 1 ล้านคน  จะมีเด็กกลุ่มอาการดาวน์เกิดใหม่ปีละประมาณ 1,000 คน ในปัจจุบันสูตินรีแพทย์สามารถให้การวินิจฉัยกลุ่มอาการดาวน์ได้ตั้งแต่อยู่ในครรภ์มารดา

สาเหตุของกลุ่มอาการดาวน์          เกิดจากความผิดปกติของโครโมโซมคู่ที่ 21 ซึ่งสาเหตุของความผิดปกตินั้นยังไม่ทราบกลไกแน่ชัด เชื่อว่าสารพันธุกรรมของโครโมโซมคู่ที่ 21 ที่เกินมานั้น ทำให้กระบวนการปกติที่ควบคุมการสร้างตัวอ่อนเปลี่ยนแปลงไป ซึ่งทำให้เด็กเหล่านี้มีลักษณะหน้าตาคล้ายคลึงกัน เช่น ศีรษะเล็กและแบน หน้าแบน ดั้งจมูกแบน ตาเฉียงขึ้น ปากเล็ก ใบหูเล็ก คอสั้น มือแบนกว้าง นิ้วมือสั้น เส้นลายมือตัดขวาง นิ้วก้อยโค้งงอ ช่องระหว่างนิ้วเท้าที่ 1 และ 2 กว้าง และอาจมีความผิดปกติในระบบต่างๆ ของร่างกาย เช่น ระบบหัวใจและหลอดเลือด กล้ามเนื้อ ทางเดินอาหาร ระบบต่อมไร้ท่อ และอื่นๆ อีกหลายระบบ ที่สำคัญคือ เด็กกลุ่มนี้จะมีภาวะบกพร่องทางสติปัญญา ร่วมด้วย ส่วนใหญ่มีระดับสติปัญญาในเกณฑ์บกพร่องทางสติปัญญา ระดับเล็กน้อยถึงปานกลาง
ความผิดปกติของโครโมโซมที่พบในกลุ่มอาการดาวน์   ความผิดปกติของโครโมโซมที่พบในกลุ่มอาการดาวน์มี 4 แบบ คือ           1. Trisomy 21 มีโครโมโซมคู่ที่ 21 เกินมา 1 แท่ง ส่วนใหญ่เกิดจากการที่โครโมโซมไม่แยกจากกันในระหว่างการแบ่งตัวของเซลล์สืบพันธุ์ในมารดา มีเพียงประมาณร้อยละ 10 เกิดจากการที่โครโมโซมไม่แยกจากกันในระหว่างการแบ่งตัวของเซลล์สืบพันธุ์ของบิดา นั่นคือความผิดปกติแบบนี้ส่วนใหญ่เกิดก่อนการปฏิสนธิ แต่อาจเกิดจากการแบ่งตัวครั้งแรกของตัวอ่อนปกติหลังการปฏิสนธิก็ได้  ความผิดปกตินี้พบได้ร้อยละ 95  ของกลุ่มอาการดาวน์ทั้งหมดและยังไม่ทราบสาเหตุแน่ชัด แต่จะพบบ่อยขึ้นเมื่อมารดามีอายุมากขึ้น อัตราเสี่ยงของการเกิดซ้ำประมาณร้อยละ 1 ความผิดปกติของโครโมโซมรูปแบบนี้ไม่ต้องเจาะโครโมโซมบิดามารดา
          2. Robertsonian translocation พบได้ร้อยละ 4 ของกลุ่มอาการดาวน์ทั้งหมด  กลุ่มนี้มีจำนวนโครโมโซม 46 แท่ง แต่มีโครโมโซมแท่งหนึ่งมีลักษณะผิดปกติเนื่องจากมีการเคลื่อนย้ายที่ของแขนยาวของโครโมโซมระหว่างโครโมโซมคู่ที่ 21 กับโครโมโซมคู่ที่ 13,14,15,21 หรือ 22 แต่ที่พบบ่อยที่สุดในกลุ่มนี้คือระหว่างโครโมโซมคู่ที่ 21 กับ 14 อัตราการเกิดการเคลื่อนย้ายที่ของโครโมโซมนี้ไม่มีความสัมพันธ์กับอายุมารดา ประมาณร้อยละ 50 ของการเคลื่อนย้ายที่ของโครโมโซมเกิดขึ้นเอง อีกร้อยละ 50 เกิดจากการที่บิดาหรือมารดาเป็นพาหะของการเคลื่อนย้ายที่ของโครโมโซมนั้น  ดังนั้น ถ้าหากบุตรมีความผิดปกติของโครโมโซมแบบนี้จะต้องตรวจโครโมโซมของบิดามารดาด้วยว่าเป็นพาหะหรือไม่ เพื่อให้คำแนะนำปรึกษาต่อไป
          3. Mosaicism มีโครโมโซม 2 แบบในคนเดียวกันคือ บางเซลล์ผิดปกติ มี 46 โครโมโซมและบางเซลล์มี 47 โครโมโซม(trisomy 21) พบได้ร้อยละ 1 ของกลุ่มอาการดาวน์ทั้งหมด กลุ่มอาการดาวน์ประเภทนี้จะมีความรุนแรงใกล้เคียงกับแบบที่ 1 หรือ 2 แต่ก็พบที่รุนแรงน้อยกว่าด้วยเช่นกัน เกิดจากการที่โครโมโซมไม่แยกจากกันในระหว่างการแบ่งตัวครั้งที่ 2 หรือครั้งต่อๆไปของตัวอ่อนหลังการปฏิสนธิ และเนื่องจากการที่โครโมโซมไม่แยกจากกันในกลุ่มอาการดาวน์ชนิดนี้เกิดหลังปฏิสนธิ ดังนั้น จึงมีเพียงบางเซลล์เท่านั้นที่จะผิดปกติ ซึ่งถ้าตรวจเลือดไม่พบความผิดปกติของโครโมโซมแต่ยังสงสัยว่าเป็นกลุ่มอาการดาวน์หรือไม่  ต้องตัดเนื้อเยื่อจากผิวหนังมาตรวจ
          4. Partial trisomy21 คือการที่มีโครโมโซมคู่ที่ 21 เกินมาเพียงบางส่วน ไม่ใช่ทั้งโครโมโซม โดยส่วนของโครโมโซมที่เกินมานั้น มียีนที่เกี่ยวข้องกับกลุ่มอาการดาวน์ (Down syndrome critical region or DSCR) ซึ่งอยู่บนแขนยาวของโครโมโซมคู่ที่ 21 รวมอยู่ด้วย  ความผิดปกติแบบนี้พบน้อยมาก  มักจะเป็นกลุ่มอาการดาวน์ที่ตรวจโครโมโซมโดยวิธีมาตรฐานแล้วผลปกติ ดังนั้น ถ้าลักษณะทางคลินิกเหมือนแต่จำนวนโครโมโซมผิดปกติ  ต้องใช้วิธีตรวจทางอณูพันธุศาสตร์(molecular genetic) ต่อไป
            โดยทั่วไปถ้าหากพบเด็กกลุ่มอาการดาวน์ จะต้องทำการตรวจโครโมโซมทุกราย เพื่อดูว่ามีความผิดปกติของโครโมโซมแบบใด ถ้าหากเป็นชนิดที่มีการเคลื่อนย้ายที่ของโครโมโซมจะต้องตรวจโครโมโซมของบิดามารดา หากพบว่าคนหนึ่งคนใดเป็นพาหะจะต้องตรวจโครโมโซมของคนในครอบครัวฝ่ายนั้น เพื่อหาพาหะอื่นในครอบครัว เนื่องจากจะมีผลต่อการให้คำแนะนำปรึกษาทางพันธุศาสตร์ต่อไป 





ออทิสติก    หมายถึง  เด็กที่มีพัฒนาการแตกต่างไปจากเด็กปกติ และส่งผลกระทบต่อการมีปฏิสัมพันธ์ทางสังคม ความสามารถในการสื่อสาร การใช้จินตนาการ  อารมณ์ และพฤติกรรมที่เกี่ยวข้องกับการเรียนรู้ของเด็ก
หลักการเลี้ยงดูเด็กออทิสติก
-         ยอมรับและเข้าใจความต้องการพิเศษของเด็ก
-         ให้ความรักและความสนใจในตัวเด็ก
-         พัฒนาและช่วยเหลือเด็กให้ช่วยเหลือตนเองได้
-         ชมเชยและชื่นชม เมื่อเด็กมีการแสดงออกที่เหมาะสมเพื่อให้เด็ก
รู้สึกภูมิใจและมั่นใจ
-         สอนเด็กอย่างต่อเนื่อง มีการวางแผนอย่างสม่ำเสมอ จัดกิจกรรมที่เหมาะสมกับวัย และความสามารถของเด็ก
-         กระตุ้นทักษะทางภาษาอย่างต่อเนื่อง พูดคุยโต้ตอบขณะที่เด็กมีกิจกรรมต่าง ๆ
-         สอนทักษะทางสังคมที่เหมาะสมแก่เด็ก เริ่มจากการมองสบตา ทักษะการฟัง การเล่นกับกลุ่ม การรอคอย พยายามพาเด็กออกสู่สังคมจริง และสอนในทุกสถานการณ์อย่างเข้าใจ ใจเย็นและอดทน
-         สอนเหมือนเด็กทั่วไปให้รู้จักการช่วยเหลือตนเองตามวัย ตามความสามารถและข้อจำกัดของเด็ก
-         เปิดโอกาสให้เด็กได้ทำสิ่งต่าง ๆ ด้วยตนเองภายในการดูแลและการให้กำลังใจของคนในครอบครัว
-         ฝึกให้เด็กมีระเบียบวินัย เช่น การรู้จักเข้าแถวการรอคอย รู้จักกฎกติกาในการเล่น และการอยู่ร่วมกับผู้อื่น

ลักษณะที่เด่นชัดของเด็กออทิสติก

ปัญหาด้านความสัมพันธ์
-        ไม่สบตากับผู้อื่น
-        ขาดความสนใจบุคคลรอบข้าง
-        ไม่เล่นกับเด็กคนอื่น ๆ
ปัญหามีพฤติกรรมแปลก ๆ
-        ทำท่าทางแปลก ๆ
-        หัวเราะไม่สมเหตุสมผล
-        ชอบหมุนวัตถุ
-        สนใจวัตถุ / สิ่งของซ้ำ ๆ
ปัญหาทางภาษา
-        การสื่อสารกับคนอื่นไม่เข้าใจ
-        พูดเรียนแบบเหมือนนกแก้ว
-        พูดเรื่องเดียวซ้ำ ๆ


การเข้าเรียน ครั้งที่ 13

วันที่  28  มกราคม 2557

- วันนี้ไม่มีการเรียนการสอน เนื่องจาก สอบปลายภาคของรายวิชานี้ -


การเข้าเรียน ครั่้งที่ 12

วันทื่ 21 มกราคม 2557

พัฒนาการของเด็กที่มีความต้องการพิเศษ

ปัจจจัยที่มีผลต่อพัฒนาการเด็ก  
          ปัจจัยทางด้านชีวภาพ เกี่ยวข้องกับลักษณะทางพันธุกรรมหรือชุดหน่วยของยีนที่เด็กได้รับสืบทอดมาจากบิดามารดา
          ปัจจัยด้านสภาพแวดล้อมก่อนคลอด การติดเชื้อ สารพิษ สภาวะทางโภชนาการและการเจ็บป่วยของมารดาส่งผลต่อพัฒนาการของตัวอ่อนในครรภ์
          ปัจจัยด้านกระบวนการคลอด  การเกิดภาวะแทรกซ้อนในระยะคลอด เช่น ภาวะขาดออกซิเจนในขณะคลอด
          ปัจจัยด้านสภาพแวดล้อมหลังคลอด สภาวะหลังคลอด ปัจจัยด้านระบบประสาท และสภาพแวดล้อมส่งผลร่วมกันต่อพัฒนาการของเด็ก เด็กที่ไม่มีบิดามารดา หรือเด็กที่ไม่ได้รับการดูแลเอาใจใส่  อยู่ในสิ่งแวดล้อมที่แออัด ยากจน เด็กถูกทอดทิ้ง-ล่วงละเมิด


พัฒนาการ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงในด้านการทำหน้าที่ และวุฒิภาวะของอวัยวะต่างๆรวมทั้งตัวบุคคล ทำให้สามารถทำหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทำสิ่งที่ยากสลับซับซ้อนมากขึ้น โดยทั่วไป พัฒนาการปกติ แบ่งออกเป็น 4 ด้าน คือ
1.             พัฒนาการด้านร่างกาย(Physical Developmentเป็นความสามารถของร่างกายในการทรงตัว การเคลื่อนไหว โดยใช้กล้ามเนื้อมัดใหญ่ การใช้มือและตาประสานกัน ในการทำกิจกรรมต่างๆ
2.             พัฒนาการด้านสติปัญญา(Cognitive Development เป็นความสามารถในการเรียนรู้ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งต่างๆกับตนเองการรู้คิด รู้เหตุผลและความสามารถในการแก้ปัญหา ด้านภาษา การใช้มือกับตา เกี่ยวข้องกับพัฒนาการด้านสตปัญญา
3.             พัฒนาการด้านจิตใจ-อารมณ์(Emotional Developmentเป็นความสามารถของร่างกายในการแสดงความรูสึกและควบคุมการแสดงออกของอารมณ์อย่างเหมาะสม การสร้างความรู้สึกที่ดี นับถือตัวเอง
4.             พัฒนาการด้านสังคม(Social Developmentเป็นความสามารถในการสร้างสัมพันธภาพกับผู้อื่น สามารถช่วยเหลือตนเองในชีวิตประจำวัน

การเข้าเรียน ครั้งที่ 11

วันที่  14  มกราคม 2557

- วันนี้ไม่มีการเรียนการสอน เนื่องจาก สถานการณ์บ้านเมืองไม่เอื้ออำนวย มีการ Shut down กทม. -


การเข้าเรียน ครั้งที่ 10

วันนี้  10 มกราคม 2557

    - นำเสนอประเภทของเด็กที่มีความต้องการพิเศษ   

          กลุ่มที่1    Cerebral Palsy C.P  *กลุ่มของดิฉันเอง*

          กลุ่มที่2    Children with Learning Disabilities L.D.

          กลุ่มที่3    Children with Attention Deficit and  Hyperactivity